วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551

สุขสันต์วันคริสต์มาส 2008 และสวัสดีปีใหม่ 2009

สุขสันต์วันคริสต์มาส 2008 และ สวัสดีปีใหม่ 2009 (2552)
"ขอพระเกียรติสิริมีแด่พระเจ้าในที่สูงสุดก และสันติสุขจงมีแก่มวลมนุษย์บนโลก ผู้ซึ่งพระองค์ทรงโปรดปรานนั้น"
ลูกา 2:14 (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)
ด้วยความรักปรารถนาดีจาก บ้านเด็กฟ้าเมืองไทย

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

รักแม่มากที่สุดในโลก




กิจกรรมวันแม่ 12 สิงหา เด็กๆเข้าร่วมมุมศิลปะจำนวนมาก

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551

พัฒนาการเด็กปฐมวัย



พัฒนาการ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านวุฒิภาวะ ( maturity) ของอวัยวะระบบต่างๆและตัวบุคคล ทำให้เพิ่ม ความสามารถของระบบและบุคคลให้ทำหน้าที่ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำสิ่งที่ยากและซับซ้อนยิ่งขึ้นได้ ตลอดจนการเพิ่ม ทักษะใหม่และความสามารถในการปรับตัวในภาวะใหม่ของบุคคลนั้น พัฒนาการของเด็ก จะแบ่งออกเป็น 6 ด้านดังนี้
• พัฒนาการด้านร่างกาย
• พัฒนาการด้านการรับรู้
• พัฒนาการด้านสติปัญญา
• พัฒนาการด้านภาษา
• พัฒนาการด้านอารมณ์
• พัฒนาการด้านสังคม

พฤติกรรมและทักษะชีวิตของมนุษย์ได้จากการเรียนรู้และการสะสมประสบการณ์ การเรียนรู้ทักษะบางอย่างจะง่ายและ ประสบความสำเร็จในช่วงเวลาหนึ่งมากกว่าอีกเวลาหนึ่งและสังคมจะคาดหวังให้เด็กแต่ละคนทำพฤติกรรมที่เหมาะสมให้ได้ ในแต่ละช่วงอายุของบุคคล
พัฒนาการที่สำคัญในแต่ละวัย
วัยทารก ( 0-2 ปี)
อายุ 0-6 สัปดาห์ /เด็กมองหน้าแม่ ทำเสียงในลำคอ ฟังเสียงคุยแล้วยิ้มตอบ
อายุ 4-6 เดือน/เด็กจำหน้าแม่ได้ ส่งเสียงอ้อแอ้และยิ้มตามเสียง เด็กสามารถเอื้อมคว้าจับสิ่งของมาเข้าปาก
อายุ 6-9 เดือน /เด็กสามารถแยกเสียงของแม่ได้ เริ่มแยกแยะความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ชัดเจน เด็กจำหน้าแม่ได้ เด็กจะแสดงอาการแปลกหน้ากับผู้ที่ไม่ คุ้นเคย และจะติดแม่ เรียกว่า กลัวคนแปลกหน้า (Stranger anxiety)


อายุ 9-12 เดือน /เด็กมีความผูกพันใกล้ชิดกับผู้เลี้ยงดู (Attachment) และจะติดผู้เลี้ยงดู เมื่อต้องแยกจากพ่อแม่/ผู้เลี้ยงดู เด็กจะร้องไห้และร้องตาม เมื่อพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูกลับมา เด็กจะแสดงความดีใจโผเข้าหาและเข้ามาคลอเคลีย เด็กวัยนี้จะเริ่มกลัวการพลัดพราก (Separation anxiety)
อายุ 12-18 เดือน /เด็กหัดเดินและชอบสำรวจ ระยะนี้เด็กจะกระตือรือร้นที่จะสำรวจสิ่งแวดล้อมค้นหาสิ่งแปลกใหม่เด็กมัก จะใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสำรวจตรวจตรา ดังนั้นควรระมัดระวังสิ่งที่เป็นอันตราย - ในวัยนี้เด็กจะทดสอบสิ่งต่างๆ และดูผลของการกระทำต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ถ้าพอใจเด็กจะโยนของเล่น ว่าจะตกลงมาอย่างไร ถ้าพอใจเด็กจะโยนซ้ำ ถ้าไม่พอใจเด็กจะหยุดหรือหาวิธีอื่นๆ บางครั้งเด็กจะกรีดร้องจะเอาของมาโยนอีก - เด็กเริ่มพูดได้ เป็นคำๆอย่างน้อย 10 คำ
อายุ 18-24 เดือน
- เด็กเรียนรู้ภาษาอย่างรวดเร็ว และจดจำคำศัพท์ได้ดี


อายุ 2-3 ปี
- เด็กเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น - เด็กรู้ว่าตนเองเป็นบุคคลหนึ่งที่แยกจากสภาพแวดล้อม ทำให้เด็กต้องการเป็นตัวของตัวเอง เด็กจะ พยายาม ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง เช่น จับช้อนตักอาหารเอง เด็กจึงมีพฤติกรรมต่อต้าน ( Negativism) ชอบพูดว่า “ ไม่ ” “ ไม่เอา ” “ ไม่ทำ ” เป็นต้น
อายุ 3-5 ปี /พัฒนาการด้านร่างกาย เด็กบังคับกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น เด็กชอบปีนป่ายเตะบอล รักลูกบอล ชอบเล่นในสนาม เด็กสามารถขี่ จักรยานสามล้อได้ พัฒนาการด้านสติปัญญา - เด็กเชื่อว่าสิ่งของทุกอย่างมีชีวิติ (Animism) เด็กชอบเล่นสมมุติโดยจะเอาตุ๊กตาตามมาเล่นแล้วสมมุติ เป็นพ่อแม่ลูก แสดงท่าป้อนข้าวลูก อาบน้ำแต่งตัวให้ลูก แสดงเป็นเรื่องราวเหมือนว่าตุ๊กตาเป็นสิ่งมีชีวิต - เด็กเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีจุดหมาย เด็กมักถามว่า “ ทำไม ” “ ทำไมรถจึงวิ่ง ” ฯลฯ - เด็กจะเชื่อมโยงปรากฎการณ์ 2 อย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกันว่าเป็นเหตุและเป็นผลซึ่งกันและกัน
พัฒนาการด้านภาษา -พัฒนาอย่างรวดเร็ว เด็กชอบใช้คำถาม “ นั่นอะไร ” “ นี่อะไร ” “ พ่อไปไหน ” เด็กสามารถเข้าใจ คำสั่งง่ายๆได้ เด็กอายุ 4 ขวบชอบใช้คำถาม “ ทำไม ”


พัฒนาการด้านอารมณ์ - เด็กเริ่มมีลักษณะอารมณ์แบบผู้ใหญ่ คือ โกรธ อิจฉา กังวล ก้าวร้าว พอใจ เป็นต้น เด็กจะแสดงความโกรธ ด้วยการกรีดร้อง ดิ้นกับพื้น หรือทำร้ายตัวเองแสดงความอิจฉาเมื่อมีน้องใหม่เวลาเล่นสนุกๆก็จะแสดง ความพอใจ แต่เมื่อได้ยินเสียงฟ้าร้องเด็กก็จะกลัว


พัฒนาการด้านสังคม -เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ดีขึ้น อาบน้ำ แต่งตัว ใส่รองเท้าเอง บอกเวลาจะถ่ายได้ ถอดกางเกง เข้าห้องน้ำเอง และทำความสะอาดหลังขับถ่ายได้ - เด็กเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตัว เพื่อให้สังคมยอมรับ ทำตัวให้เข้ากลุ่มได้ รู้จักให้ รับ รู้จักผ่อนปรน รู้จักแบ่งปัน เด็กเรียนรู้จากคำสอน คำอธิบายและการกระทำของพ่อแม่ เด็กรู้สึกละอายใจเมื่อทำผิด เด็กเริ่มรู้จักเห็นใจ ผู้อื่น เมื่อเห็นแม่เสียใจเด็กอาจเอาตุ๊กตามาปลอบ เป็นต้น
พ่อแม่ควรฝึกหัดและส่งเสริมให้เด็กวัยอนุบาลได้ช่วยเหลือตนเอง เช่น รับประทานอาหาร อาบน้ำ แต่งตัว การขับถ่าย เป็นต้น
เด็กอายุ 1-5 ปี อาจติดสิ่งของบางอย่าง เช่น ผ้าห่ม ตุ๊กตา เด็กจะนำสิ่งของเหล่านี้ติดตัวไปด้วยทุกแห่ง หรือเข้านอน ด้วยการนำมาอุ้ม กอด และถือไว้ ใช้สำหรับปลอบใจ ทำให้รู้นึกมั่นใจและสบายใจ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องห่างจากแม่ เวลาไม่สบายหรือ เวลาเข้านอน เพื่อทดแทนความสัมพันธ์ที่ห่างเหิน และเด็กก็เริ่มไปมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น สิ่งของเหล่านี้เรียกว่า Trasitional – object การเลี้ยงดูที่เหมาะสมจะทำให้เด็กพัฒนาไปได้ดี ในขณะเดียวกัน สังคมก็จะคาดหวังเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กในแต่ละวัย ซึ่ง เราเรียกว่า งานพัฒนาการ (Deelopmental task) ถ้าเด็กสามารถทำได้ตามขั้นตอนพัฒนาการเด็กจะยอมรับนับถือตนเอง ได้รับ การยอมรับจากผู้อื่นและเด็กก็จะมีความสุขตามมา เมื่อเด็กมีความสุข เด็กจะมีกำลังใจ มีแรงจูงใจในการทำงานตามที่มุ่งหวัง และ สามารถทนต่อความขัดแย้งได้ดี ทำให้ประสบความสำเร็จตามมา ถ้าเด็กไม่สามารถทำได้ตามขึ้นตอนพัฒนาการ เด็กจะรู้สึกเป็นปมด้อย และจะทำงานในขั้นตอนพัฒนาการที่สูงขึ้นได้ยาก

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ข้อควรปฎิบัติสำหรับผู้ถูกล่วงละเมิด

ปัจจุบันนี้(2551)การข่มขืน การล่วงละเมิดบังคับขู่เข็ญทางเพศในสตรีที่ไม่พร้อม เป็นความโหดร้ายทารุณจิตใจมากที่สุด โดยฝ่ายกระทำไม่คำนึงถึงจิตใจ ศักดิ์ศรี และเกียรติ อนาคต ผลที่ตามมาซึ่งส่วนใหญ่แล้วสตรีต้องแบกรับปัญหาทั้งหมดไว้เพียงคนเดียว มันไม่ยุติธรรมเลยที่สตรีเป็นฝ่ายถูกกระทำ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
1.ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศกรณีถูกข่มขืน ควรรีบไปให้แพทย์ตรวจร่างกายอย่างเร่งด่วนภายใน 24 ชั่วโมงไม่ควรอาบน้ำหรือชำระล้างร่างกายหรือทำประการใดๆที่อาจทำให้สภาพที่เป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากที่ได้ถูกกระทำ เพื่อให้สามารถเก็บหลักฐานได้ชัดเจน ครบถ้วน การตรวจร่างกายอย่างเร่งด่วนไม่ว่าตัดสินใจจะดำเนินคดีหรือไม่ จะเป็นผลดีในแง่การป้องกันการติดโรคจากเพศสัมพันธ์ ป้องกันการตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถทำได้ดีภายใน 48 ชั่วโมง และเมื่อตัดสินใจที่จะแจ้งความร้องทุกข์เมื่อใด พยานหลักฐานทางการแพทย์ เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ว่าถูกละเมิดทางเพศจริง เพราะการดำเนินคดีการละเมิดทางเพศในไทย ให้ความสำคัญกับผลการตรวจ ร่างกายของแพทย์
1)หลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียวตามลำพัง เพราะอาจนำไปสู่การตัดสินใจที่เป็น ผลร้ายกับตนเอง เช่น พยายามฆ่าตัวตาย
2)ให้กำลังใจตนเอง ไม่ควรลงโทษตนเอง ไม่มีผู้ใดต้องการถูกข่มขืน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึง ไม่ใช่ความผิดของตนเอง !! แต่เป็นความผิดของชายที่มากระทำต่างหาก รำลึกอยู่เสมอว่าคุณค่า อนาคต ความสามารถของเรามิได้สูญเสียไปกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
3)หาบุคคลที่ไว้ใจ เช่น พ่อแม่ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นเพื่อร่วมกันคิดแก้ไขปัญหาหรือแจ้งความนำคนผิดมาลงโทษ
4)ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือกำนันผู้ใหญ่บ้านก็ได้เพราะตามกฎหมายถือเป็น เจ้าพนักงานเช่นกัน เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฟัง ทั้งนี้ให้แจ้งความในทันทีที่สามารถจะทำได้ ในท้องที่ที่เป็นสถานที่เกิดเหตุ
5)ตั้งสติและพิจารณาว่ามีผู้ใดที่จะเป็นพยานในเหตุการณ์นั้น พยายามจดจำเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นให้ได้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือในศาล
เรียบเรียงโดย อ.ศราวุธ วรรณวงศ์ (นิค)
บ้านเด็กฟ้าเมืองไทย
โทร 085-2901324

วิกฤตเด็กไทย... ไปไกลกว่าที่คิด

ความสับสนของผู้คนนอกจากเรื่องกิเลศตัณหากับนักการเมืองพันธุ์แสวงหาอำนาจที่น่าสงสาร สิ่งที่เป็นดั่งนิยายปรัมปราเหมือนผู้ใหญ่ผูกให้ดูแบบรันทดใจ หามีแนวทางแก้ไขเยียวยาไม่? นั่นคือ "วิกฤตปัญหาเด็กไทย" นอกจากจะเป็นอาชญากรตัวน้อยที่โหดร้ายขาดสำนึก เอื้ออาทรสมวัย กรณีลูกหมอตัดสินใจสาดน้ำร้อนกับเพื่อนเด็กไทยที่ขัดใจนั้น เด็กอายุ 14 เดนนรก 6 คน เรียงคิวข่มขืน 2 รอบ แล้วมากดน้ำให้ตาย สังคมตะลึงพรึงเพริศกับความเลวร้ายดั่งผีดิบกลับชาติมาเกิด ทั้งปัญหาคนดีถูกทำร้าย ลามมาจนถึงปัญหาจิตเสื่อม ขนาดของสงวนที่อิตถีสตรีในโลกนี้จะยอมให้เห็นเป็นสิ่งสุดท้ายบนร่างกาย ยังพร้อมจะนำมาย้อมโชว์...แบบผู้ใหญ่ต้องร้องโอ้ว... เกิดมาตรฐานจริยธรรมขั้นต่ำ ของมนุษย์แล้ว เป็นไปได้เช่นใด? ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ไม่ต้องอ้างทฤษฎีฝรั่งแบบวิชาการ ผู้เขียนตอบแบบนัก สังคมวิทยาได้เลยว่า "ครอบครัวแย่ สังคมโทรม เทคโนโลยี ล้ำเส้น" พาเด็กไทยเสื่อมทุกด้านจนไกลกว่าที่เราจะแก้ไขแล้วกระมัง ภาวะช็อคทางวัฒนธรรม ความรู้สึก พ่อแม่ปล่อยให้ลูกหลาน ก้าวร้าวรุนแรง ขาดสติยั้งคิด ผู้ใหญ่ไม่เป็นตัวอย่างที่ดี สุรา นารี คดโกง การแต่งกาย เด็กเลียนแบบล้ำเส้นกว่าผู้ใหญ่หลายก้าว มาตรฐานทางจริยธรรมในการดำเนินชีวิตที่ต่ำ ทั้งครอบครัว ธุรกิจ การเมือง การศึกษา การบริหารงาน เด็กซึมซับความไม่ละอายชั่วกลัวบาป เทคโนโลยีเกิดมากับความมีเล่ห์เหลี่ยมในมนุษยชาติ มาพร้อมความสับสน ติดกับดักอย่างไม่ลืมหูลืมตา ฮวน เอนริแก้ เขียนไว้ใน "As The Future Catch You" ว่า "อนาคตกำเราทุกคนไว้ในอุ้งมือแล้ว จงปล่อยให้มันจับ แต่อย่าหลับตา" เด็กไทย ถูกมันจับพร้อมหลับตาพริ้ม ยอมสยบตามมันอย่างหลงใหล อยู่กับมือถือ หน้าจอคอมพิวเตอร์ ไปกับโลกไซเบอร์อย่างน่าเวทนา ที่เป็นปัญหาคือ อยู่กับมันกับเรื่องไร้สาระ กัดกร่อนจริยธรรมขั้นต่ำ พร้อมประหารชีวิตมนุษย์ทางจิตวิญญาณด้วยเกมออนไลน์หฤโหด ผู้เขียนมองสังคมอย่างเข้าใจในฐานะนักสังคมวิทยาเด็กไทยดีๆ สมองเลิศ จริยธรรมสูงมากมาย ขออนุโมทนาสาธุกับครอบครัว แต่ปัญหาที่แรงและน่ากลัว อันเป็นปรากฏการณ์ที่กำราบและปรับวิถีได้ แต่น่าเสียดายที่ตลอดครึ่งทศวรรษที่ผู้เขียนเสนอมุมมอง แนวคิด ผู้ใหญ่ทำงานแบบผักชีโรยหน้า ขับเคลื่อน แก้ปัญหาแบบวัวหายล้อมคอก ปล่อย ปละ ละ เลยไม่ขับเคลื่อนปัญหาแบบมหภาคที่น่าจะเป็น หรือถึงเวลาที่สนิมเนื้อกัดกินเนื้อตนเองแล้ว ผู้เขียนเสนอทางออกที่รัฐบาลไทย จะเป็นกระทรวง ทบวง กรมใดที่ต้องเป็นเจ้าภาพขับเคลื่อน 4 เรื่องอย่างเร็วและแรง 1.ออกกฎหมายครอบครัว การแบ่งเวลาประกาศวันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว การจัดการกับพ่อแม่ที่ไม่อบรมสั่งสอนลูก รังแกสังคม (เฉพาะเยาวชน) จะอบรม ปรับนักกฎหมาย นักสังคม ต้องมาคุยกันให้เป็นระบบ ประเภท บ้าทำลูก บ้าหาเงิน แต่ไม่บ้าเลี้ยงลูก เลิกเถอะครับ 2.มาตรฐานด้านหลักสูตรการศึกษาทางสังคมผ่านจริยศาสตร์ เอื้ออาทร กาละเทศะ การศึกษาทุกระดับต้องปรับตัวเร็วและแรงอาจต้องประกาศวาระแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการ ขับเคลื่อนให้เน้นมุมด้านจริยธรรม คุณธรรม หลักการดำรงตนเอื้ออาทร เศรษฐกิจพอเพียง พัฒนายั่งยืน สื่อสังคมทุกด้านต้องกำราบความชั่วให้กลัวความดี 3.รื้อระบบสื่อออนไลน์ ระดมกูรูผู้ดูกฎหมายควบคุมสื่อสารสนเทศ ระดมเพื่อปกป้องปราม วางกฎระเบียบ ไม่ให้สื่อออนไลน์ที่มีความรุนแรง ลามก อุบาทว์ หลอกลวง เพิ่มมาตรการลงโทษ รวมทั้ง Clip VDO ลามกจกเปรต ต้องเข้มงวด กวดขัน เอาจริง เอาจังอย่างชัดเจน 4.สร้างจิตสำนึก มโนธรรมกับผู้ประกอบการแหล่งเสื่อม โทรม ผับ บาร์ ตามซอกมุมสังคมกวดขันเรื่องจัดระเบียบสังคม สาปแช่งกลุ่มพ่อค้าทำกิจการหลอกกิเลสเด็ก มอมเมาจนลูกหลานชาวบ้านย่อยยับ จำกัดพื้นที่ มอมเมาเด็กไทย วิกฤตเด็กไทย หากทุกภาคส่วนสังคมไม่ขับเคลื่อนเร็ว และแรง คาดว่าจะระบาดหนักจนเกินล้ำ จะเยียวยา ยามที่เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา พัฒนาจะไม่ยั่งยืน ทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน พูดไป บ่นไป เกิดเรื่องครั้งใด ผู้ใหญ่ ผู้เล็ก เริ่มล้อมคอกต้อง ตั้งคำถามกับผู้มีหน้าที่ดูแลจะประชุมพูดคุยขับเคลื่อน เช่นใด? ส่วนคนไทยที่พ้นวัยเด็กต้องตื่นตัว ตระหนักคิด เป็นหูเป็นตาสอดส่องหาช่องทางช่วยรัฐ ผู้ปกครองปรามเบื้องต้น สังคมช่วย ผู้บังคับกฎหมายต้องใช้ให้เหมาะสม ผู้เขียนวิงวอนปัญหาเด็กไทย ไปไกลทั้งบทโหด โรคจิต ขนาดย้อมขนในที่ลับ แล้วผู้ใหญ่ทุกระดับ จะนั่งหายใจรอให้เด็กไทยกลุ่มนี้เป็นผู้ใหญ่ที่บิดเบี้ยวหรือ
ข้อมูลอ้างอิง:
มติชนรายวัน หน้า 9 - วันที่ 06 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10801
ชลวิทย์ เจียรจิตต์ ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
**พบเห็นเด็กชาย/หญิง ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงมีเพศสัมพันธก่อนวัยอันควร ติดเกมส์ หนีออกจากบ้าน ไม่อยากเรียนหนังสือ
โปรดติดต่อด่วน ศูนยประสานงานบ้านเด็กฟ้าเมืองไทย จังหวัดสุพรณบุรี โทร 085-2901324




วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เร่ง....แก้ปัญหาเด็ก สตรี ที่ถูกกระทำรุนแรง




เด็กและสตรีถูกกระทำรุนแรงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ปี 2550 พบจำนวน 17,170 ราย เฉลี่ย 47 ราย/วัน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จัดสัมมนาวิชาการศูนย์พึ่งได้ “ครึ่งทศวรรษศูนย์พึ่งได้” เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรีที่เหมาะกับประเทศไทย คาด...ภายใน 5 ปี มีเครือข่ายการดำเนินงานศูนย์พึ่งได้ครอบคลุม 100 % ของทุกสถานบริการสาธารณสุข ในโรงพยาบาลชุมชน 729 แห่ง สถานีอนามัย 9,760 แห่ง รองรับ และช่วยเหลือเหยื่อได้ทันที นายแพทย์ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดเผยว่า ปัญหาความรุนแรงในเด็กและสตรี ยังคงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกวันในสังคมไทย ที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น จากสถิติการให้บริการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงของศูนย์พึ่งได้ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา พบว่ามี การกระทำรุนแรงต่อเด็กและสตรีเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ โดยในปี 2547 มีผู้มารับบริการ เฉลี่ย 19 ราย/วัน ปี 2548 จำนวน 32 ราย/วัน ปี 2549 จำนวน 37 ราย/วัน และปี 2550 จำนวน 47 ราย/วัน ซึ่งยังไม่รวมถึงผู้ถูกกระทำรุนแรงที่ไม่ได้มาขอรับบริการอีกเป็นจำนวนมาก ขณะนี้ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้พัฒนาระบบบริการศูนย์พึ่งได้ ซึ่งเปิดบริการแล้วในโรงพยาบาล 253 แห่งทั่วประเทศ และต่อไปภายใน 5 ปี จะได้ขยายการบริการของศูนย์พึ่งได้ให้ครอบคลุมทุกสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ ทั้งในโรงพยาบาลชุมชน 729 แห่ง สถานีอนามัย 9,760 แห่ง เพื่อรองรับและช่วยเหลือเด็ก สตรีที่ถูกกระทำรุนแรงให้ทันท่วงทีมากขึ้น โดยจะพัฒนางานบริการของศูนย์พึ่งได้ให้มีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการป้องกัน และเฝ้าระวัง เด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง โดยการเตรียมความพร้อมของสถานบริการสาธารณสุขในการป้องกัน เฝ้าระวัง ค้นหากลุ่มเสี่ยง ให้ชุมชนตระหนัก เห็นความสำคัญของปัญหา และพัฒนามาตรฐานระบบบริการให้มีคุณภาพ สร้างต้นแบบสถานบริการ พัฒนาระบบรายงานข้อมูล รวมทั้งให้ความช่วยเหลือฟื้นฟู เยียวยาเด็ก และสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม อาทิ จัดหาบ้านพักฉุกเฉิน ดำเนินการช่วยเหลือทางกระบวนการยุติธรรม ประสานงานส่งต่อข้อมูลทั้งไปและกลับทั้งนี้ หากพบเด็กหรือสตรีถูกทำร้าย หรือพบเห็นเหตุการณ์ที่มีการทำร้ายรุนแรงเกิดขึ้นให้ โทรแจ้งไปที่ 1669 ทันที ซึ่งจะมีรถพยาบาลออกปฏิบัติการนำผู้ป่วยไปส่งต่อยังโรงพยาบาลเครือข่ายที่ใกล้เคียงที่เกิดเหตุที่สุดภายในเวลา 15 นาทีอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวต่อไปว่า ในวันนี้( 20 พฤศจิกายน 2550) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จัดประชุมสัมมนาวิชาการศูนย์พึ่งได้ เรื่อง ครึ่งทศวรรษศูนย์พึ่งได้เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรีที่เหมาะกับประเทศไทย รวมทั้งสร้างเครือข่ายการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาความรุนแรง สร้างมาตรฐานการดำเนินงานขยายบริการให้ครอบคลุมในหน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับและเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน สร้างความตระหนักให้ทุกฝ่ายมองปัญหาความรุนแรงว่าเป็นเรื่องที่ทุกคน ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน จึงจะแก้ไขปัญหาความรุนแรงลงได้.
ศูนย์ช่วยเหลือบ้านเด็กฟ้าเมืองไทย
โทรสายด่วน 085-2901324

แนะนำรายชื่อองค์กรที่ให้การช่วยเหลือเด็ก


1.มูลนิธิคุ้มครองเด็ก 02-5386227,02-5394042
2.มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก 02-4121196,02-4120739
3.กองคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก 02-2468652,02-2468653
4.มูลนิธิเด็ก 02-4380353-4
5.มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก 02-4336292,02-8846603
6.มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก 02-5743753 ,02-5746162
7.สทับมูลนิธิ 02-3818834-6
8.สมาคมศูนย์พัฒนาเยาวชน 02-7199169-70
9.สถานเลี้ยงเด็กยากจนบ้านครูน้อย 02-8713083
10.บ้านเด็กฟ้าเมืองไทย 035-430705

โทรศัพท์สายด่วน
1.เด็กและสตรี 02-2478184
2.ศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (02)1599
3.ช่วยเหลือเด็กทางการศึกษา (02) 1579